top of page
Technology Design
ทัศนธาตุ (Visual Element) หมายถึง ส่วนประกอบของการมองเห็น หรือสิ่งที่เป็นปจจัยของ การมองเห็นในผลงานทัศนศิลป์ อันประกอบไปด้วยจุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น�้าหนักอ่อน - แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี ซึ่งเป็นสื่อด้านสุนทรียภาพที่ศิลปนน�ามาใช้สร้างสรรค์ ผลงาน เพื่อสื่อความหมายตามแนวคิด โดยน�าทัศนธาตุ ดังกล่าวมาประกอบ หรือประสานให้เข้ากัน จนเป็น อันหนึ่งอันเดียวและเกิดการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน และความสมดุล ในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปนอาจใช้ทัศนธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน แต่ในความ เป็นจริงแล้ว แม้ศิลปนจะใช้เพียงทัศนธาตุเดียวใน การสร้างสรรค์ผลงาน ทัศนธาตุอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นเอง เช่น เมื่อใช้เส้นวาดรูปทรงขึ้นชิ้นหนึ่ง จะเกิดพื้นที่ว่าง และรูปร่างขึ้นพร้อมกับเส้น และเมื่อใช้สีระบายลงใน รูปทรงที่ใช้เส้นวาด ทัศนธาตุอื่นก็จะปรากฏขึ้นมาด้วย โดยมีทั้งเส้นที่เป็นขอบเขตของรูปทรง สี พื้นที่ว่าง น�้าหนักอ่อน - แก่ แม้แต่สีที่ระบายลงไปก็จะปรากฏให้เห็น ในลักษณะหยาบ หรือละเอียด มัน หรือด้าน เป็นต้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าผลงานทัศนศิลป์จะมีทัศนธาตุเป็นองค์ประกอบส�าคัญ กล่าวคือ เมื่อมีรูปทรงของ งานทัศนศิลป์ปรากฏขึ้น ทัศนธาตุทั้งหลายจะประสานและรวมตัวกันอยู่ในงานทัศนศิลป์นั้นอย่างครบถ้วน ดังนั้น หากจะท�าการวิเคราะห์รูปแบบของทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ จึงจ�าเป็นต้องแยกทัศนธาตุออกเป็นอย่างๆ เพื่อให้ ง่ายต่อการศึกษาวิเคราะห์ รวมทั้งจะได้เข้าใจแนวความคิดและวัตถุประสงค์ของศิลปนในการเลือกรูปแบบทัศนธาตุ มาสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้น ò. ¾×é¹°Ò¹¡ÒÃÃѺÃÙŒ เราเคยสังเกตเห็นนกจ�านวนมากมาเกาะสายไฟฟาเป็นแนวยาวริมถนน ถึงแม้ว่ารถจะวิ่งผ่านไปผ่านมา ทั้งความเร็วและเสียงเครื่องยนต์ที่ดัง นกเหล่านั้นก็ยังเกาะสายไฟนิ่ง และส่งเสียงร้องจ้อกแจ้กจอแจ ไม่ได้เกิดความ ตกใจแต่อย่างใด นี่คือ การเรียนรู้ของนก ซึ่งในช่วงแรกๆ นกฝูงแรกเมื่อบินมาเกาะสายไฟ นกเหล่านั้นคงตกใจ และบินหนีทุกครั้งที่มีรถวิ่งผ่าน แต่พอนานเข้า นกจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นจากรถ จึงเลิกบินหนี ถึงแม้ว่าจะมีรถวิ่งผ่านไปมาก็ตาม ส�าหรับนกตัวอื่นๆ ที่บินเข้ามาสมทบภายหลัง ก็จะค่อยๆ เรียนรู้พฤติกรรมของ นกรุ่นก่อนๆ เมื่อนกรุ่นก่อนอยู่นิ่ง มันก็จะนิ่งตาม แต่ส่วนการรับรู้ของมนุษย์ มีมาตั้งแต่ก�าเนิด หรือที่เรียกกันว่า “สัญชาตญาณ” ซึ่งเป็นพฤติกรรมธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน เช่น เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งพุ่งตรงมาใกล้นัยน์ตา ตาจะกะพริบ หรือเมื่อมือไปถูกของร้อน เราก็จะชักมือออก เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการรับรู้ที่เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เพื่อให้ตนเองรอดพ้นจาก อันตราย มนุษย์มีความรับรู้ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ซึ่งการรับรู้เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัส แต่ในด้านของความคิดและความเข้าใจยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องบ้างและไม่ถูกต้องบ้าง จนกว่ามนุษย์จะได้รับรู้ต่อสิ่งเดียวกัน หลายๆ ครั้ง จนเกิดการเรียนรู้ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งหลังจากเรียนรู้ก็จะสามารถวิเคราะห์ จ�าแนก และแยกแยะสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
bottom of page