top of page

1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุน

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนมากกว่าในทุกวัย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวมักจะส่งผลให้วัยรุ่นเกิดความสงสัยและบางครั้งอาจเกิดความ กังวลใจ จนทำ ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า เพศหญิงจะมี พัฒนาการ (development) ในการเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นโดยเฉลี่ยเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อสิ้นสุดช่วงวัยของวัยรุ่นกลับพบว่า เพศชายจะสิ้นสุดช่วงวัยรุ่นช้ากว่า เพศหญิงถึง 1 ปี นักเรียนเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงของวัยรุ่น หากได้ศึกษาและทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการเจริญ เติบโต (growth) ของร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวัยรุ่นอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมจะช่วยให้มี ความเข้าใจทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเองและผู้ที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน

1.1 ความหมายและความสำ คัญของวัยรุน

วัยรุน� ในที่นี้จะหมายถึง บุคคลที่อยู่ระหว่างช่วงอายุตั้งแต่ 10–20 ปี1 ซึ่งเป็นวัยที่มี การเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กก้าวย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จากความหมายดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็น ว่า วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำ คัญ ใน 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่เป็น โครงสรางทางรางกาย (จากโครงสร้างร่างกายใน วัยเด็กพัฒนามาสู่โครงสร้างร่างกายในวัยผู้ใหญ่) และองค์ประกอบที่เป็นโครงสรางทางสภาพจิตใจ (เปลี่ยนจากสภาพจิตใจเด็กพัฒนามาสู่ความเป็น ผู้ใหญ่ขึ้น) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจท�าให้ วัยรุ่นเกิดปญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคมและ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งหากวัยรุ่นได้รับ ความรู้ ตลอดจนคำ แนะนำ ที่ดีและมีความเหมาะสม จะช่วยให้วัยรุ่นดำ เนินชีวิตและพัฒนาไปสู่ การเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นก�าลังที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป ในทาง ตรงกันข้าม การขาดความรู้และการใช้วิธีการปรับตัวของวัยรุ่นที่ไม่เหมาะสมทั้งต่อผู้ใกล้ชิดและ สังคม การกระทำ ดังกล่าวย่อมส่งผลให้สังคมและประเทศชาติเกิดความวุ่นวายและเกิดปญหา ทางสังคมตามมาได้

1.2 ลักษณะการเจริญเติบโตทางรางกายของวัยรุน

ลักษณะการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่นเพศชายและเพศหญิงมีข้อสังเกตที่สำ คัญ ดังนี้ 1. ลักษณะโดยทั่วไปของวัยรุนเพศหญิง เด็กหญิงจะเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 10–12 ปี ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบความสูงและน้ำ หนักตัวที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของเด็กทั้งสองเพศ ในวัยเดียวกันจะพบว่า เพศหญิงจะมีอัตราการเพิ่มของความสูงและน้ำ หนักตัวมากกว่าเพศชาย และเมื่ออายุระหว่าง 13–15 ปี ความสูงของร่างกายจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลักษณะการเจริญเติบโต เต้านมเริ่มมีการขยายตัว สะโพกเริ่มมีไขมันมาสะสมมากขึ้น ส่งผลให้สะโพกผายออก เอวคอดกิ่ว ซึ่งเริ่มแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นหญิงสาวมากขึ้น และยังพบว่าเริ่มมีขนขึ้นบริเวณใต้รักแร้ และบริเวณหัวหน่าว ปริมาณไขมันใต้ผิวหนังจะเพิ่มมากขึ้น พบว่ามีปริมาณมากกว่าวัยรุ่นเพศชาย โดยเฉลี่ยร้อยละ 10 2. ลักษณะโดยทั่วไปของวัยรุนเพศชาย เด็กชายจะเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่นช้ากว่าเด็กหญิง ดังนั้น ระหว่างอายุ 10–12 ปี จึงมีส่วนสูงและน้ำ หนักน้อยกว่า แต่เมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไปจะพบว่า เด็กชาย มีอัตราการเพิ่มของความสูงมากเช่นเดียวกับเด็กหญิง ปริมาณไขมันที่พอกอยู่ตามลำ ตัวจะลดลง ทำ ให้ดูว่าผอม ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อของเพศชายจะมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเพศหญิง ท�าให้กล้ามเนื้อมีขนาดโตและความแข็งแรงเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของเพศชายจึงแข็งแรงกว่า เพศหญิง ซึ่งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดังกล่าวทำ ให้วัยรุ่นเพศชายมีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่มากขึ้น 3. น้ำ หนักและสวนสูง น้ำ หนักและส่วนสูงเป็นตัวชี้วัดถึงภาวะและความเจริญเติบโตของ ร่างกายที่เป็นปกติหรือไม่ปกติของวัยรุ่น ดังนั้น นักเรียนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงของวัยรุ่นจึงควร หมั่นตรวจสอบถึงภาวะดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางการชั่งน้ำ หนัก การวัดส่วนสูง และ การคำ นวณอายุโดยละเอียด1 ที่ถูกต้อง และเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำ หนัก ส่วนสูง และผลจากการ คำ นวณแล้ว ให้นำ มาเปรียบเทียบกับเกณฑมาตรฐานการเจริญเติบโตของรางกาย (criteria of growth) หรือเกณฑ์อ้างอิงน้�าหนักส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย ที่กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำ ขึ้น โดยมีรูปแบบการนำ เสนอข้อมูล เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเปรียบเทียบภาวะการเจริญเติบโตของคนไทยใน 2 รูปแบบ คือ ข้อมูล เกณฑ์อ้างอิงมาตรฐานที่เป็นตัวเลขและข้อมูลเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐานในรูปกราฟ ซึ่งในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนได้ศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ดังกล่าวในระดับ 1 การค�านวณอายุโดยละเอียดของผู้ที่ถูกชั่งน้�าหนักและวัดส่วนสูง อายุโดยละเอียดหรืออายุที่แท้จริงที่ค�านวณได้ จะใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำ ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐานการเจริญเติบโต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ หนักและ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุจะได้ข้อมูลที่ละเอียดและเด่นชัดมากขึ้น การคำ นวณอายุดังกล่าวจะคำ นวณ ณ วันที่ทำ การบันทึกน้ำ หนักและวัดส่วนสูง โดยนำ เอาปี เดือน และวันที่ทำ การ บันทึก ลบด้วยปี เดือน และวันที่เกิดของผู้ถูกวัด ผลที่ได้จะคิดอายุเป็นปีและเดือน หากเศษของเดือน (วัน) มากกว่า 15 วัน ให้ปดเป็น 1 เดือน ถ้าไม่ถึงไม่ต้องปด

bottom of page